top of page
  • Black Facebook Icon

History of Mon

PNOHT610113001018801_13012018_063319.jpg
History of Mon
  • มอญเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร

       มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ ที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพ

มาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งอาณาจักรของชนชาติมอญสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

       - ยุคแรก คือ ยุคราชวงศ์สะเทิม อาณาจักรสุธรรมวดี (พุทธศตวรรษที่ 2) เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ทั้งทวารวดีและสะเทิม แต่ก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกามยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหะ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงเมืองนครปฐมซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี

       - ยุคที่สอง คือ ยุคอาณาจักรหงสาวดี พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่าและสถาปนาอาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรมอญยุคนี้ถือเป็นยุคที่เจริญสูงสุดแต่ก็ได้สิ้นสุดลงในสมัยพระเจ้าสการะวุตพี หงสาวดีเสียเมืองให้แก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. 2081

       - ยุคที่สาม คือ ยุคฟื้นฟูหรือยุคอาณาจักรหงสาวดีใหม่ (พ.ศ. 2283) สมิงทอพุทธิเกศกู้เอกราชคืนมาจากพม่าได้สำเร็จ และสถาปนาอาณาจักรหงสาวดีใหม่ ทั้งได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ในปี พ.ศ. 2290 พญาทะละได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศและได้ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางทำให้อาณาจักรตองอูของพม่าสลายตัวลงจนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญา ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาและได้โจมตีมอญ ยุคนี้จึงถือเป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญ

       ทุกวันนี้ชนชาติมอญไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเองเนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงครามการรุกรานจากพม่า ชาวมอญต้องอยู่อย่างแสนสาหัส ถูกกดขี่รีดไถ มีการเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะสงครามในปี พ.ศ. 2300 สมัยพระเจ้าอลองพญาเป็นสงครามครั้งสุดท้ายที่ชาวมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง

 

       ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรมอญ

  • หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบว่าชนชาติมอญได้อพยพเข้ามาในจังหวัดนครปฐม

       

       - ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ได้มีการค้นพบอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณที่บันทึกเรื่องราวของการสร้างพระพุทธรูป  เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง จังหวัดนครปฐม เป็นหลักฐานสำคัญที่นักวิชาการนำมาใช้สันนิษฐานว่า “ คนในวัฒนธรรมทวารวดีเป็นกลุ่มคนเชื้อสายมอญ” แต่เมื่อได้พิจารณาหลักฐานอื่นประกอบโดยเฉพาะภาพปูนปั้นที่ใช้ประดับศาสนสถานและประติมากรรมรูปบุคคลที่พบในเมืองโบราญนครปฐม อาจเป็นไปได้ว่าชุมชนโบราณนครปฐมประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติแต่โดยคนส่วนใหญ่อาจเป็นคนเชื้อสายมอญหรือใช้ภาษามอญเป็นหลัก

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ : ศิลาจารึก อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ : ชิ้นส่วนประติมากรรมรูปบุคคล)  

       - ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13 ได้พบเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. ที่นครปฐมและอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร” และมีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครกรุงเทพ) ทำให้เชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้ตั้งอาณาจักรทวารวดีขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ: เหรียญเงินที่มีอักษรจารึกและมีรูปหม้อน้ำกลศออยู่อีกด้านหนึ่ง)

 

       - ธรรมจักรศิลา ที่เขียนด้วยภาษามอญโบราณ พบในบริเวณเมืองโบราณนครปฐมที่วัดโพธิร้าง โดยในข้อความจารึกส่วนใหญ่มุ่งหมายที่จะถ่ายทอดธรรมมะทางพุทธศาสนาหรือบันทึกเกี่ยวกับการสร้างวัดและบริจาคสิ่งของแก่วัด (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครกรุงเทพ) มีข้อความว่า

      “จักรคือพระธรรมของพระ(สัมมาสัมพุทธเจ้า) ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงแสดงไว้ 4 อย่าง (คือ ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ มรรค) ทั้ง 4 อย่างหมุนวนครบ 3 รอบเป็น สัจจญาณ กจจญาณ กตญาณ…ฯ”

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ : ธรรมจักรศิลา ที่เขียนด้วยภาษามอญโบราณ)

 

       ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ

       ที่มา : พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ จ.นครปฐม

 

  • ชุมชนมอญ

       

       จากการที่ชาวมอญอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้งทำให้ชาวมอญได้กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆแทบทุกจังหวัดในประเทศไทยซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีชื่อเรียกของชาวมอญที่แตกต่างกันออกไป เช่น มอญกระทุ่มมืด จ.นครปฐม , มอญบางขันหมาก จ.ลพบุรี , มอญสลุย จ.ชุมพร  เป็นต้น แต่กลุ่มชนชาติมอญที่เราจะพูดถึงคือ มอญกระทุ่มมืด ชุมชนมอญในจ.นครปฐม

  • มอญกระทุ่มมืด ชุมชนมอญในจังหวัดนครปฐม

       

       ความเป็นมาของชุมชนมอญกระทุ่มมืด จากคำบอกเล่าของท่านพระครูปัญญา

นนทคุณ เจ้าอาวาสของวัดสโมสรเล่าว่า พื้นที่วัดสโมสรแต่เดิมนั้นชื่อว่า วัดหม่อมแช่ม เป็นทุ่งราบว่างเปล่าต่อมาได้มีครอบครัวมอญจากปากลัด จ.สมุทรปราการ และครอบครัวมอญจาก จ.สมุทรสาครได้พากันมาจับจองที่บริเวณแห่งนี้ มีอาชีพทำนาเป็นหลักต่อมาในพ.ศ.2455 หม่อมแช่ม กฤดากร ได้ให้ทำการขุดคลองในพื้นที่ระหว่าง ต.ไทรน้อย จ.นนทบุรี กับ ต.บางภาษี อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งชาวบ้านจะเรียกคลองแห่งนี้ว่า “คลองหม่อมแช่ม”

      เมื่อขุดคลองเสร็จแล้ว  หม่อมแช่ม กฤดากร ได้จัดที่ดิน 1 แปลง จำนวน 15 ไร่ เพื่อสร้างวัดทั้งนี้ก็เนื่องจากชาวมอญเป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งหม่อมแช่มก็มีเชื้อสาญมอญเช่นกันชาวบ้านจึกได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดหม่อมแช่ม” เมื่อสร้างเสร็จก็ได้นิมนต์พระภิกษุมาจำพรรษาและในปีเดียวกันได้มีพระภิกษุเนตร อุตตโม เดินทางมาจากกรุงหงสาวดีมาจำพรรษายังวัดแห่งนี้

      บ้านคลองหม่อมแช่มถือกำเนิดมานับได้กว่าศตวรรษ ชาวมอญได้ไปหักล้างถางพง ทำนา และตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เรียกว่า กระทุ่มมืด เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มมีอาณาบริเวณกว้าง มีต้นกระทุ่มขึ้นเต็มไปหมดต่อมาชุมชนกระทุ่มมืดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการสร้างวัดสำหรับชาวบ้านมากขึ้นโดยมีวัดที่ชาวไทยเชื้อสายมอญได้สร้างไว้ทั้งหมด 7 วัด คือ

      1.วัดหม่อมแช่ม (วัดสโมสร) จ.นนทบุรี                  

      2.วัดยอดพระพิมล จ.นนทบุรี

      3.วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี       

      4.วัดราษฏร์นิยม จ.นนทบุรี

      5.วัดบึงลาดสวาย  จ.นครปฐม                 

      6.วัดเกษตราราม  จ.นครปฐม                                                         

      7.วัดบอนใหญ่   จ.นครปฐม                 

      ในปัจจุบันชุมชนที่อยู่บริเวณคลองหม่อมแช่มนี้มีชื่อว่า บ้านคลองหม่อมแช่ม

มี 2 แห่ง คือ

      1.บ้านคลองหม่อมแช่มที่อยู่ในเขต ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นครปฐม

      2.บ้านคลองหม่อมแช่มที่อยู่ในเขตบางภาษี  อ.บางเลน จ.นครปฐม

      ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/9802

1.jpg
2.jpg
3.jpg
4.jpg
5.jpg
6.jpg
bottom of page