top of page
  • Black Facebook Icon

ประเพณีการทำศพมอญ

  • รูปภาพนักเขียน: Mon
    Mon
  • 13 ก.พ. 2562
  • ยาว 1 นาที

• การทำศพมอญมีหลายรูปแบบ มีเงื่อนไขตามผู้เสียชีวิตว่าเป็นใครและเสียชีวิตอย่างไร ชาวมอญยึดถือตำรามอญโลกสมมุติที่กำหนดวิธีการจัดการศพอย่างเคร่งครัด โดยศพของผู้ที่เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุถือว่า “ตายไม่ดี” ส่วนผู้สูงอายุที่ล้มป่วยด้วยโรคชราเรียกว่า “ตายดี”


• กรณีที่ตายไม่ดี จะไม่มีจัดพิธีทำบุญสวดมนต์ แต่จะนำศพไปเก็บหรือฝังที่ป่าช้าประมาณ 1 ปี จากนั้นจะขุดศพขึ้นมาทำพิธี แต่ไม่ทำพิธีเกี่ยวกับศพ เจ้าภาพมักขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน เนื่องจากการฉลองกฐินถือว่าเป็นการทำบุญให้ผู้เสียชีวิต หลังทำบุญเสร็จเรียบร้อยจึงมีการเผาศพ โดยที่งานศพไม่มีพิธีซับซ้อน มีเพียงพระสวดบังกุสุลแล้วเผา


• กรณีที่ตายดี ต้องแยกว่าเสียชีวิตในบ้านหรือเสียชีวิตนอกบ้าน กรณีที่เสียชีวิตในบ้านจะต้องทำเตียงเป็นการเฉพาะเรียกว่าโจ่งแจะแหน่ะฮ์


• งานศพของชาวมอญห้ามไม่ให้นำโลงศพขึ้นบ้าน ซึ่งเป็นความคิดของปราชญ์ที่เคร่งครัดในศาสนา โบราณ มีผู้สันนิษฐานว่าบ้านเรือนสมัยก่อนสร้างด้วยไม้ขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง หากตั้งศพบนอาจรับน้ำหนักของผู้ร่วมงานจํานวนมากไม่ไหว จึงไม่ให้นําโลงศพขึ้นบ้าน

• การตั้งศพจะหันศีรษะไปทางทิศใต้ และตั้งศพไว้ที่บ้านไม่เกิน 3 วันจากนั้นจะไปตั้งที่วัดต่อ ไม่มีการสวดอภิธรรมที่บ้าน มีเพียงผู้ใหญ่ที่อ่านภาษามอญออกอ่านธรรมะให้ผู้ร่วมงานรับฟัง แต่บางแห่งมีการสวดมนต์ทำวัดค่ำแบบเดียวกับที่พระสงฆ์สวดที่วัด


• เมื่อถึงเวลานำศพออกจากบ้าน จะนำศพออกทางทิศเหนือ เมื่อไปถึงวัดจึงตั้งศพหันศีรษะไปทางทิศใต้ แต่สามารถอนุโลมได้หากสภาพศาลาที่ตั้งศพไม่เอื้ออำนวย


• ก่อนเผาพระสงฆ์จะสวดมาติกา จากนั้นตอนบ่ายจึงทำการเผาเริ่มโดยการเวียนศพรอบเชิงตะกอน 3 รอบ ก่อนการขึ้นเชิงตะกอนจะมีพิธีแย่งศพ เมื่อวางศพบนเชิงตะกอน ญาติต้องไปขอศีลที่เชิงตะกอนต่อหน้าศพและทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล ในระหว่างเผาจะโยนผ้าขาวที่ปิดปากโลงข้ามกองฟอนไปมา 3 ครั้ง


• หลังเผาศพจะต้องปูที่นอนในบ้านเพราะถือว่าวิญญาณผู้ตายยังอยู่ที่บ้าน นำเสื้อผ้าผู้ตายวางบนที่นอนลักษณะเหมือนผู้ตายยังคงนอนอยู่



ความคิดเห็น


bottom of page